หางแมงป่อง

อักษรล้านนา หางฯแมงฯป่อฯง

น.หางแมงป่อง – เป็นชื่อเรือที่นิยมใช้เดินทางระหว่างเชียงใหม่ – กรุงเทพฯ ในอดีต ซึ่งเหมาะกับสภาพพื้นที่ของเชียงใหม่ เนื่องจากน้ำปิงมีสภาพเกาะแก่งมาก, เรือหางแมงป่อง ทำจากไม้สัก ท้ายงอนเชิดขึ้นสูงเหมือนหางแมงป่อง มีประทุนอยู่ตรงกลาง สามารถลอยน้ำได้ดี แข็งแรง เวลาทิ่มถูกเกาะแก่งเรือก็ไม่แตก, ในยุคต้น เป็นเรือที่เจ้านายฝ่ายเหนือใช้ ยุคทองของเรือหางแมงป่องอยู่ในรัชสมัยของเจ้าอินทรวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ลำดับที่ 7 โดยเรือหางแมงป่อง ถูกใช้เป็นเรือพระที่นั่งในคราวเสด็จสู่พระนคร เพื่อถวายตัวเจ้าดารารัศมีซึ่งเป็นพระธิดา ไปเป็นพระชายาในสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5, แต่ยุคหลังใช้ในการขนส่งสินค้าระหว่าง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 6-9 เดือน และตั้งแต่มีการสร้างทางรถไฟเข้าสู่เมืองเชียงใหม่ และการทำเขื่อนภูมิพลที่จังหวัดตาก จึงทำให้ ”เรือหางแมงป่อง” ขนาดใหญ่ที่ใช้บรรทุก ขนส่งสินค้าหายไปจากน่านน้ำปิง ยังคงมีแต่เรือหางแมงป่องขนาดเล็กคอยบริการผู้โดยสารข้ามฟากที่ ”ท่าเรือหางแมงป่อง” หน้าวัดศรีโขง ฟากตรงข้ามกับสำนักงานเทศบาลนครเชียงใหม่เท่านั้น; เรือแม่ปะ ก็ว่า

ค้นหาคำว่า "หางแมงป่อง" ในพจนานุกรมมรดกล้านนา